โซลาร์เซลล์ใส ผลิตไฟฟ้าสู่อาคารสีเขียว

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกนได้พัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ที่มีความโปร่งใสสมบูรณ์ ทำให้สามารถนำใช้งานได้หลากหลาย ทั้งในงานสถาปัตยกรรมและงานในสาขาอื่น เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาหรืออุตสาหกรรมยานยนต์

โดยมีนักวิจัยรุ่นก่อนได้พยายามสร้างอุปกรณ์ดังกล่าวมาก่อนเช่นกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้ายยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

ทีมนักวิจัยได้มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยการมองทะลุผ่าน พวกเขาจึงพัฒนาตัวรวมแสงอาทิตย์ที่เรืองแสงแบบโปร่งใส ซึ่งสามารถวางเหนือพื้นผิวที่ใสเหมือนหน้าต่าง ให้สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ได้โดยไม่กระทบต่อการส่งผ่านแสง

เทคโนโลยีนี้ใช้โมเลกุลอินทรีย์ที่ดูดซับความยาวคลื่นแสงซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ เช่น แสงอินฟราเรดและแสงอัลตราไวโอเลต ริชาร์ด ลันท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเคมีและวัสดุศาสตร์ที่วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท กล่าวว่า เราสามารถพัฒนาปรับใช้วัสดุเหล่านี้เพื่อรับรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและอินฟราเรดความยาวคลื่นใกล้กัน ที่จะ “ ส่องแสง” ที่ความยาวคลื่นอื่นในอินฟราเรด แสงที่รับได้จะถูกส่งไปยังแผงซึ่งจะถูกแปลงเป็นไฟฟ้าด้วยของเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ” เนื่องจากพื้นที่ในแนวตั้งมีขนาดใหญ่กว่าชั้นดาดฟ้าโดยเฉพาะในอาคารสำนักงาน หรืออาคารที่ผนังเป็นกระจก อุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากด้านหน้าอาคาร โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม และยังเป็นสัญลักษณ์ทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังสามารถติดตั้งใช้งานกับอาคารแบบเก่าได้เช่นกัน

หากเซลล์แสงอาทิตย์แบบใหม่นี้มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน จะทำให้โซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีราคาค่อนข้างถูก เนื่องจากต้นทุนของแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบดั้งเดิมนั้นไม่ได้มาจากเซลล์แสงอาทิตย์เอง แต่มาจากวัสดุที่ติดตั้งอยู่เช่นอลูมิเนียมและกระจก การเคลือบโครงสร้างที่มีอยู่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์จะช่วยลดต้นทุนวัสดุนี้ได้

หากในที่สุดแล้วเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดโปร่งใสพิสูจน์ว่าสามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ จะทำให้เราสามารถชดเชยการใช้พลังงานของอาคารขนาดใหญ่ไปได้มาก ถึงแม้จะไม่สามารถสร้างพลังงานให้กับทั้งอาคารได้ แต่เราสามารถสร้างพลังงานจำนวนมากพอสำหรับสิ่งต่าง ๆ เช่น การให้แสงสว่างและการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันได้